|
|
fjrigjwwe9r0tb_HeadMenu106:DataDetail1
ขั้นตอนการทำพื้นคอนกรีต (คสล.)
- การเตรียมพื้นชั้นดินเดิม (Subgrade)
ควรปรับเกลี่ย (Clearing) พื้นดินเดิมให้เรียบ ปราศจากวัชพืช บางกรณีอาจต้องขุดลอกและถมด้วยวัสดุที่เหมาะสมแทน เช่น ลูกรัง หินคลุก และทำการบดอัดเพื่อให้ได้ความหนาแน่นตามกำหนด
- การเสริมชั้นรองพื้นทาง (Subbase)
โดยทั่วไปมักกำหนด หรือ ออกแบบให้ใช้ดินลูกรัง ทรายถม หรือหินคลุก ความหนาประมาณ 20 cm. (เซนติเมตร) หรือตามที่ผู้ออกแบบกำหนด และทำการบดอัด ตรวจสอบระดับให้ได้ตามที่ต้องการ
- การเทพื้นชั้นผิวทางคอนกรีต (Concrete Slab)
ทำการใส่แบบเทคอนกรีตที่มีมาตรฐาน แข็งแรง ให้แน่นหนา ตามรูปแบบที่วางแผนไว้ เสริมเหล็กให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน หลังจากเทคอนกรีตแล้ว ควรทำให้แน่น โดยใช้เครื่องเขย่า หรือกระทุ้งด้วยมือสำหรับการเทปริมาณน้อย หลังจากนั้นจึงทำการตกแต่งผิวหน้าคอนกรีตให้ได้ตามรูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การกรีดหน้าลาย การขัดหยาบ การขัดเรียบ เป็นต้น
- การบ่มพื้นคอนกรีต (Concrete Curing)
การบ่มคอนกรีตเป็นการควบคุม และป้องกันไม่ให้น้ำในคอนกรีตระเหยออกจากคอนกรีต ที่กำลังแข็งตัวเร็วเกินไป ซึ่งจะมีผลต่อกำลังของคอนกรีต ดังนั้นหลังจากที่ผิวหน้าคอนกรีตแข็งตัวแล้ว จะต้องบ่มคอนกรีตให้มีความชื้นอยู่เสมอ เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน โดยกำลังของคอนกรีตจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ยังมีความชื้นให้ปูนซีเมนต์ได้ทำปฏิกิริยากับน้ำ โดยวิธีการบ่มคอนกรีตทำได้หลายวิธี อาทิ การขังน้ำ การรดน้ำ การคลุมด้วยวัสดุเปียกชื้น เช่น กระสอบ, แผ่นพลาสติก หรือการใช้สารเคมี (น้ำยาบ่มคอนกรีต) เคลือบผิวหน้าคอนกรีต
- การตัดรอยต่อพื้นคอนกรีต (Joint)
หลังจากเทคอนกรีตแล้ว 1 วัน ควรทำการตัด Joint รอยต่อ เพื่อกันผิวคอนกรีตแตกร้าวไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากคอนกรีตเมื่อแข็งตัวแล้ว จะเกิดการขยายตัว และหดตัว เพราะความชื้น และอุณหภูมิ ทำให้เกิดรอยแตกร้าวที่ไม่มีระเบียบ ไม่สวยงาม จึงต้องทำการตัด Joint เพื่อควบคุมรอยแตกให้เป็นระเบียบและสวยงาม ซึ่งอาจทำการตัดในระหว่างการเทโดยใช้ไม้แบบ หรือเกรียงสำหรับทำรอยต่อ หรือตัดด้วยใบเลื่อย (Saw Cut) หลังจากเทคอนกรีตแล้ว 1 วัน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|